กิจกรรม/เนื้อหา
การบริหารจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัย
* การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
* การบริหาร คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
** จากความหมายของ “การบริหาร” พอสรุปได้ว่า “การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้”
ความหมาย *การบริหารการศึกษา แยกออกเป็น 2 คำ คือ การบริหาร และ การศึกษา ความหมายของ “การบริหาร” มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลาย ทั้งคล้ายๆกันและแตกต่างกัน
*ส่วนความหมายของ “การศึกษา”พอสรุปได้ว่า “การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี”
เมื่อนำความหมายของ “การบริหาร” มารวมกับความหมายของ “การศึกษา” ก็จะได้ความหมายของ “การบริหารการศึกษา” ว่า “การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี”
สรุป การบริหารสถานศึกษาหรือการบริหารองค์กร สิ่งที่ต้องตระหนักหรือให้ความสำคัญ คือการบริหารงานบุคคล เพราะบุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าในองค์กร ที่สามารถพัฒนาศักยภาพได้ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์กรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรที่ปฏิบัติงาน เสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ นั้นหมายถึงผู้บริหารจะต้องมีความรู้เรื่องการบริหารเป็นอย่างดี
หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา
******กลุ่มทัศนะดั้งเดิม
1. การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific management) ของ Frederick. W. Taylor
2.ทฤษฏีการจัดการเชิงบริหาร (Administration management)
* Henry Fayol : หลักการบริหาร 14 หลักการ และขั้นตอนการบริการ POCCC
* Chester Barnard : ทฤษฏีการยอมรับอำนาจหน้าที่
* Luther Gulick : ใช้หลักการของ Fayol
3.ทฤษฏีการบริหารแบบราชการ(Bureaucratic management)ของMax Weberพัฒนาหลักการจัดการแบบราชการ
*******กลุ่มทัศนะเชิงพฤติกรรม (Behavioral viewpoint)
1.ทฤษฏีพฤติกรรมระยะเริ่มแรก
*Hugo Munsterberg บิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรมใช้หลักการจำแนกคนงานให้เหมาะสมกับงาน
*Mary Parker Follett นักปรัชญาแห่งเสรีภาพ เน้นสภาพแวดล้อมในการทำงานและการมีส่วนร่วม
2.การศึกษาที่ฮอว์ธอร์น
3.ความเคลื่อนไหวเชิงมนุษยสัมพันธ์
*Abraham Maslow : มาสโลว์ ทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการ
*Douglas McGregor : แมคเกรเกอร์ ทฤษฏี X และทฤษฏี Y
4.หลักพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำผลการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทฤษฏีเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์จากศาสตร์สาขาต่างๆเมื่อนำไปทดสอบแล้วจะเสนอให้นักบริหารนำไปใช้เช่น ทฤษฏีการตั้งเป้าหมาย ของ Locke
********กลุ่มทัศนะเชิงปริมาณ (Quantitative viewpoint)
1.การบริหารศาสตร์ มุ่งเพิ่มความมีประสิทธิผลในการตัดสินใจจากการใช้ตัวแบบคณิตศาสตร์และวิธีการเชิงสิติ
2.การบริหารปฏิบัติการ ยึดหลักการบริหารกระบวนการผลิตและให้บริการ กำหนดตารางการทำงาน
3.ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร สารสนเทศบริหารศาสตร์MIS เน้นการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหาร (Computer based information system : CBISs)
*******กลุ่มทัศนะร่วมสมัย (Contemporary viewpoint)
1.ทฤษฏีเชิงระบบ **มุ่งเน้นกระบวนการมากกว่าผลผลิต
2.ทฤษฏีการบริหารตามสถานการณ์ หลักการบริหารงานที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์หนึ่งๆ เท่านั้นในสถานการณ์ที่ต่างไป ผู้บริหารอาจกำหนดหลักการจากการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของแต่ละสถานการณ์เพื่อกำหนดแนวทางให้เหมาะสมกับโครงสร้าง เป้าหมายและผู้ปฏิบัติงานในองค์การ
3.ทัศนะที่เกิดขึ้นใหม่ ทฤษฏี Z ทฤษฏีการบริหารแบบญี่ปุ่น โดย William Ouchiโดยรวมหลักการบริหารแบบอเมริกันรวมกับแบบญี่ปุ่นมีหลักการสำคัญคือ ความมั่นคงในงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รับผิดชอปัจเจกบุคคล เลื่อนตำแหน่งช้า ควบคุมไม่เป็นทางการ แต่วัดผลเป็นทางการ สนใจภาพรวมและครอบครัว
การนำไปปรับใช้
หลักการ เเนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการบิรหารต่างล้วนมีรูปแบบที่เเตกต่างกันออกไป มีข้อดีเเละข้อเสียต่างกันไป อยู่ที่ตัวผู้บริหารจะรู้จักเลือกใช้ทฤษฎีไหนเข้ามาใช้บริหารสถานศึกษาของตนให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพของงาน ของบุคลากรในสถาศึกษา
ประเมินผู้สอน
เนื้อหาเยอะพอสมควรเเต่สามารถจัดการเรียนการสอนให้พอดี ไม่น่าเบื่อทำให้กระชับเวลามากขึ้น
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย