วันเสาร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560

สัปดาห์สอบกลางภาค

บันทึกวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560

งดการเรียนการสอนเข้าอบรมโครงการมารยาทไทย

บันทึกวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560

กิจกรรม/เนื้อหา

****เสนอคำคม

1.เลือกงานที่คุณรัก แล้วชีวิตนี้คุณจะไม่ได้ทำงานเลยสักวัน

โครงสร้างขององค์กรและการจัดระบบบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

การบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย

การบริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มีลักษณะการบริหารเฉพาะตัว โดยที่ต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1. นโยบาย และยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศของรัฐบาล
2. แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ
3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
5. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. ปรัชญา นโยบายและวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา
7. ความต้องการของชุมชน

การจัดประเภท และรูปแบบสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในประเทศไทย

1. การจัดแบ่งตามโครงสร้างการบริหารตามขนาด แบ่งเป็น 3 ขนาด คือ

1.1) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดเล็ก
1.2) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดกลาง
1.3) โครงสร้างบริหารสถานศึกษาปฐมวัยขนาดใหญ่

หลักในการบริหารงานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
1. การบริหารงานวิชาการ  เป็นการบริหารกิจกรรมทุกชนิดในโรงเรียน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาการสอนผู้เรียนให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพที่สุด
2. การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาปฐมวัย คือ การปฏิบัติการใช้คนให้ทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีขบวนการต่าง ๆ
3. การบริหารงานธุรการและการเงินในสถานศึกษาปฐมวัย
- งานธุรการในสถานศึกษา
- งานการเงินในสถานศึกษาปฐมวัย
- งานสารบรรณในสถานศึกษาปฐมวัย
- งานทะเบียนและรายงาน
- งานรักษาความปลอดภัย
- งานการเงินและพัสดุ
- งานพัสดุ
4. การบริหารงานกิจการนักเรียนในสถานศึกษาปฐมวัย  คือ การดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมในโรงเรียนโดยนักเรียนสมัครใจร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเอง
5. การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาปฐมวัย
- การบริหารสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
- การบริหารสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมและประสบการณ์

องค์กรแห่งการเรียนรู้
ศาสตร์ทั้ง 5 ขององค์กรแห่งการเรียนรู้(ปีเตอร์ เอ็ม. เซงเก (Peter M. Senge)
-การใฝ่ใจพัฒนาตน (Personal Mastery)
-รูปแบบของความคิด (Mental Models)
-วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
-การเรียนรู้เป็นทีม (Team Learning)
-การคิดเชิงระบบ (System Thinking)

การบริหารแบบมีส่วนร่วม
-การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
-การมีส่วนร่วมช่วยให้เกิดการยอมรับในเป้าหมาย
-การมีส่วนร่วมช่วยให้เกิดความสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบ

ผลดีของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
สร้างสรรค์ให้มีการระดมกำลังจากบุคคลต่าง ๆ
-สร้างบรรยากาศและพัฒนาประชาธิปไตยในการทำงาน
-ช่วยให้ลดความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงาน
-การบริหารแบบมีส่วนร่วม
-ผลงานที่เกิดขึ้น
-สร้างความสมดุลระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายปฏิบัติ

ข้อจำกัดของการบริหารแบบมีส่วนร่วม
การแสดงความคิดเห็นเกิดข้อขัดแย้งกับฝ่ายบริหาร
-ก่อให้เกิดกลุ่มอิทธิพล
-ผู้บริหารกลัวสูญเสียอำนาจ
-การบริหารงานไม่สามารถใช้กับงานที่เร่งด่วนได้
-ใช้งบประมาณมาก
-ความคิดเห็นจากบุคคลภายนอกไม่ได้รับการยอมรับเท่าที่ควร
-การไม่เข้าใจหน้าที่มักจะทำให้เกิดการก้าวก่ายหน้าที่ซึ่งกันและกัน

การนำไปปรับใช้

     การบริหารสถานศึกษาในระดับปฐมวัยมีลักษณะเฉพาะตัว จะต้องคำนึงในหลายๆด้าน เช่น 
นโยบาย และยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศของรัฐบาล   แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เป็นต้น ให้เหมาะสมกับขนาดของสถานนั้นด้วย

ประเมินผู้สอน
     
    เนื้อหากระชับ เเละเข้าใจง่าย

ประเมินผู้เรียน

    เข้าเรียนตรงเวลา เเต่งกายเรียบร้อยพร้อมต่อการเรียน

บันทึกวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560

กิจกรรม/เนื้อหา

****เสนอคำคม
1.หนทางเดียวที่คุณจะสามารถทำงานออกมาได้อย่างยอเยี่ยมนั่นคือ คุณต้องรักในสิ่งที่คุณทำ
2.ผู้อยู่รอดคือผู้ที่รู้จักปรับตัวเข้าหาสภาพแวดล้อมไม่ใช่ปรัสภาแวดล้อมไปตามความต้องการที่ีไม่สิ้นสุด
3.ช่างที่อยากทำงนให้ดีจะต้องรู้จักเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือที่ดี

****นำเสนองานกลุ่มในหัวข้อ ประเภทสถานศึกษาปฐมวัย

1.โรงเรียนอนุบาล  เปิดสอนในระดับอนุบาล บางโรงดรียนมีแค่อนุบาล บางโรงเรียนมีถึงชั้นประถมศึกษา

2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา คือ โรงเรียนระบบปกติทั่วไปที่นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการบริหารพัฒนาผู้เรียน เช่นโรงเรียนวิถีพุทธ

3.เนอร์ซเซอรี่ สถานที่รับเลี้ยงดูเด็กเล็กก่อนวัยอนุบาล ซึ่งเราสามารถเรียกว่าเป็น “สถานรับเลี้ยงเด็ก”  โดยส่วนใหญ่จะรับเลี้ยงดูเด็กเล็กอายุแรกเกิดถึง 3 ขวบ แต่บางแห่งอาจรับเฉพาะในระดับ 2-3 ขวบ คือระดับ “เตรียมอนุบาล” และบางแห่งอาจรับดูแลเด็กอายุแรกเกิดถึง 6 ขวบ (เตรียมประถม)

4.สถานรับเลี้ยงเด็ก การจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กในสถานประกอบกิจการและชุมชนภายใต้การบูรณาการความร่วมมือกับ 5 กระทรวง ประกอบด้วย
 - กระทรวงแรงงาน               - กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- กระทรวงมหาดไทย            - กระทรวงศึกษาธิการ
- กระทรวงสาธารณสุข          - กระทรวงแรงงาน
การขออนุญาตจัดตั้งศูนย์เลี้ยงเด็กที่ให้บริการรับเลี้ยงเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ที่มีเด็กจำนวน 6 คนขึ้นไปต้องได้รับอนุญาตให้จัดตั้ง การขออนุญาตจัดตั้งให้ติดต่อขออนุญาตจัดตั้ง

5.ศูณย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน  คือสถานรับเลี้ยงเด็กและดูเเลก่อนวัยเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชน

6.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

7.ชั้นเตรียมอนุบาล  ซึ่งเป็นชั้นที่อยู่ระหว่างโรงเรียนอนุบาลกับโรงเรียนประถม ชั้นเตรียมประถมจะเป็นการศึกษาโดยสมัครใจ แต่เด็กที่มีอายุหกปีในสวีเดนส่วนมาก จะเข้าเรียนในชั้นนี้ เทศบาลจะมีหน้าที่ในการเปิดรับ และจัดการเรียนการสอนในชั้นเตรียมประถมให้แก่เด็ก โดยส่วนใหญ่ชั้นเตรียมประถม จะจัดอยู่ในหรืออยู่ใกล้กับโรงเรียน ที่นักเรียนจะเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานในชั้นปีที่ 1 เด็กทุกคนมีสิทธิ์เข้าเรียนในชั้นเตรียมประถม แต่กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องเรียนชั้นนี้

8.สถานพัฒนาปฐมวัย  หรือ โรงเรียนเด็กเล็ก เปิดขึ้นเพื่อรับเด็กอายุโดยประมาณ 1ขวบครึ่ง ถึง 3 ขวบ ทำหน้าที่ในการดูแล ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและภาษา  ช่วงเวลาเปิดเรียนอาจเป็นเรียนเต็มวันหรือครึ่งวัน แล้วแต่ความต้องการของผู้ปกครองหรือชุมชน หน่วยงานที่จัด คือ
กรมพัฒนาชุมชน
กรมอนามัย
กรมอาชีวศึกษา
สมาคมมูลนิธิต่าง ๆ
กรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งปัจจุบัน คือ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
ยนอาจเป็นเรียนเต็มวันหรือครึ่งวัน แล้วแต่ความต้องการของผู้ปกครองหรือชุมชน

การนำไปปรับใช้
     
     ใช้เป็นข้อมูลในการสังเกตการจัดการ การบริหารเกี่ยวกับสถานศึกษาปฐมวัย ว่าเเต่ละเเบบมีลักษณะอย่างไร แต่โยรวมๆเเล้ว ทุกที่ก็มีจุดมุ่งหวังเดียวกันคือ การพัฒนาเเละเตรียมความพร้อมให้กับเด็กเพื่อขึ้นสู่ในระดับต่อไป และพัฒนาทักษาต่าง พัฒนาการทั้ง 4 ด้านให้เหมาะสมตามวัย

ประเมินผู้เรียน
    
     เพื่อนๆนำเสนอได้เข้าใจง่ายเนื้อหาไม่ซับซ้อน

บันทึกวันที่ 25 มกราคม 2560

กิจกรรม/เนื้อหา

กิจกรรมเสนอคำคม 
1.ผู้นำที่สุดยอด คือผู้นำที่เก่ง...การกระตุ้นให้ทีมงานมีพลังใจที่เข้มแข็งได้ตลอดเวลา ผู้นำที่แย่ที่สุด คือผู้นำที่เก่งแต่ทำลายกำลังใจของทีมงาน
2.หัวหน้าที่เก่ง ไม่ใช่คนที่สามารถสั่งลูกน้องให้ทำงานได้แต่เป็นคนที่สามารถทำงานเป็นตัวอย่างให้ลูกน้องดูได้

เนื้อหา


บทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร


ความหมาย

   
     ผู้นำ (Leader)หมายถึง บุคคลที่มีศิลป บุคลิกภาพ ความสามารถ เหนือบุคคลทั่วไป สามารถชักจูงให้ผู้อื่นปฏิบัติตามที่ต้องการได้ 
ความเป็นผู้นำ (Leadership) เป็นกระบวนการที่มีอิทธิพลต่อกลุ่ม เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารทุกคนควรเป็นผู้นำ และมีภาวะผู้นำ แต่ผู้นำไม่สามารถเป็นผู้บริหารที่ดีได้ทุกคน เพราะผู้บริหารต้องมีทักษะ มีความสามารถในหน้าที่ของผู้บริหารด้วย

ประเภทของผู้นำ


1. ผู้นำตามอำนาจหน้าที่ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ (Authority)และมีอำนาจบารมี (Power)เป็นเครื่องมือ มีลักษณะที่เป็นทางการ (Formal) และไม่เป็นทางการ (Informal)มี 3แบบ
1.1 ผู้นำแบบใช้พระเดช  เป็นผู้นำที่ได้อำนาจในการปกครองตามกฎหมายมีอำนาจตามตำแหน่งหน้าที่
1.2 ผู้นำแบบใช้พระคุณ  เป็นผู้นำที่ได้อำนาจเกิดขึ้นจากบุคลิกภาพเป็นคุณสมบัติส่วนตัวของผู้นั้น ได้จากการชนะใจหรือแรงศรัธา ไม่ได้เกิดขึ้นจากตำแหน่งหน้าที่
1.3 ผู้นำแบบพ่อพระ      เป็นผู้นำที่ได้อำนาจตามกฎหมายเเต่ไม่ใช้อำนาจนั้น เช่น พระมหากษัตริย์

2. ผู้นำตามการใช้อำนาจ  มี 3 แบบ
2.1 ผู้นำแบบเผด็จการ  (Autocratic Leadership)หรือ อัตนิยม ตั้งตัวเป็นผู้นำใช้อำนาจเผด็จการ ( One Man Show)
2.2  ผู้นำแบบเสรีนิยม (Laisser-Faire Leadership)ให้ลูกน้องทำงานตามอิสระใดๆก็ได้แต่ห้ามผิดกฎหมาย
2.3  ผู้นำแบบประชาธิปไตย (Democratic Leadership)ฟังความคิดเห็นลูกน้อง โหวตเสียงข้างมาก

3.  ผู้นำตามบทบาทที่แสดงออกมี 3 แบบ
3.1 ผู้นำแบบบิดา-มารดา (Parental Leadership)ปฏิบัติตนเหมือนพ่อ-แม่ คือทำตนเป็นพ่อแม่เห็น ผู้อื่นเป็นเด็ก
3.2  ผู้นำแบบนักการเมือง  (Manipulater Leadership)พยายามสะสมและใช้อำนาจโดยอาศัยความรอบรู้และตำแหน่งหน้าที่การงานของคนอื่นมาแอบอ้างเพื่อให้ตนได้มีความสำคัญ
3.3  ผู้นำแบบผู้เชี่ยวชาญ  (Expert Leadership)ผู้นำแบบนี้เกือบจะเรียกว่าไม่ได้เป็นผู้นำตามความหมายทางการบริหาร เพราะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ Staff มักเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีความรู้เฉพาะอย่าง เช่น คุณหมอพรทิพย์

ระบบการบริหาร  (Management System)
1. ระบบเปิด  (Open system) เป็นองค์การซึ่งดำเนินภายในและมีการปฏิสัมพัทธ์ (interacts) กับสภาวะแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก
2. ระบบปิด  (Closed System) เป็นระบบที่ไม่ต้องการอิทธิพลใด ๆ จากภายนอกและไม่ได้เกี่ยวข้องกับสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ธุรกิจมักจะมองแต่ภายในองค์การ

คุณสมบัติของผู้นำ
1. มีความเฉลียวฉลาด      2. มีการศึกษาอบรมดี    
3. มีความเชื่อมั่นใจตนเอง    4. เป็นคนมีเหตุผลดี    
5. มีประสบการณ์ในการปกครองบังคับบัญชาเป็นอย่างดี     6. มีชื่อเสียงเกียรติคุณ  
7. สามารถเข้ากับคนทุกชั้นวรรณะได้เป็นอย่างดี   8. มีสุขภาพอนามัยดี  
9. มีความสามารถเหนือระดับความสามารถของบุคคลธรรมดา 10 มีความรู้เกี่ยวกับงานทั่ว ๆ ไปขององค์กร หรือหน่วยงานที่ตนปฏิบัติอยู่โดยเฉพาะ
11. มีความสามารถเผชิญปัญหาเฉพาะหน้า ที่จะเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติงานให้ได้ทันท่วงที     12. มีความสามารถคาดการณ์

ภาวะผู้นำ (Leadership)

1. ผู้นำโดยกำเนิด ผู้นำประเภทนี้ เกิดมาก็มีคุณลักษณะบ่งบอกถึงความเป็นผู้นำ อาจสืบทอดโดยตำแหน่ง
2. ผู้นำที่มีความอัจฉริยะ ผู้นำประเภทนี้เกิดขึ้นได้เพราะเป็นผู้มีความสามารถเป็นอัจฉริยะ
3. ผู้นำที่เกิดขึ้นตามสายงานบริหาร ผู้นำประเภทนี้เป็นผู้นำที่เกิดจากการได้รับการแต่งตั้งตามสายงานการบริหาร
4.  ผู้นำตามสถานการณ์ เป็นผู้นำที่เกิดขึ้นแบบมีทีมงานเป็นส่วนใหญ่ มีความใฝ่ใจสูง เน้นการบริหารงานให้ได้ทั้งคนและทั้งงาน

บทบาทหน้าที่ของผู้นำ

1. ชี้แนะ ให้คำปรึกษา กำกับดูแล (Coaching)
2. เปลี่ยนทัศนคติลึก ๆ ในตัวคน
3.  ดึงศักยภาพที่มีอยู่ โดยไม่ต้องเอาความรู้ข้างนอกมามากนัก
4.  ทำให้สถานที่ทำงานเป็นที่รักของพนักงาน
5.Full fill Basic Need ให้คนในองค์การ เช่น ให้ตำแหน่ง
6. ดึงคนให้หลุดพ้นจากความเห็นแก่ตัว ทัศนคติต้องเปลี่ยน

ผู้นำยุคใหม่

1. L คือ Listen เป็นผู้ฟังที่ดี
2. E คือ Explain สามารถอธิบายสิ่งต่างๆ ให้เข้าใจได้
3. A คือ Assist ช่วยเหลือเมื่อควรช่วย
4. D คือ Discuss รู้จักแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
5. E คือ Evaluation ประเมินผลการปฏิบัติงาน
6. R คือ Response แจ้งข้อมูลตอบกลับ
7. S คือ Salute ทักทายปราศรัย
8. H คือ Health มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ
9. I คือ Inspire รู้จักกระตุ้นและให้กำลังใจลูกน้อง
10. P คือ Patient มีความอดทนเป็นเลิศนั่นเอง

ผู้บริหารแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ 

1.  ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการ  (Line Manager)
2.  ผู้บริหารทำหน้าที่ให้คำแนะนำ  (Staff  Manager)
3.  ผู้บริหารทำหน้าที่สั่งการเฉพาะด้าน  (Functional Manager)
4.  ผู้บริหารทั่วไป  (General Manager)
5.  ผู้บริหาร (Administrator

ระดับผู้บริหารและอำนาจหน้าที่

1.  ผู้บริหารหรือหัวหน้างานระดับต้น First – Line Manager ทำหน้าที่ตรวจสอบควบคุมงานเท่านั้นจัดการงานเท่าที่ได้รับคำสั่งให้ทำ
2.  ผู้บริหารระดับกลาง  (Middle Managers) ได้แก่ตำแหน่ง ผู้จัดการโรงงาน   ผู้จัดการฝ่ายผลิต หัวหน้าวิศวกร ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติกร ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ฯลฯ
3.  ผู้บริหารระดับสูง (Top Managers)  ได้แก่  ตำแหน่ง  ประธานกรรมการบริษัท  ประธานบริษัท  ผู้บริหารระดับสูงหรือรองประธาน  ผู้อำนวยการหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการ  หรือ  รวมถึง ตำแหน่งผู้ว่าการ  เลขาธิการ  อธิบดี  ปลัดกระทรวงเป็นต้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบ การจัดการระดับสูง

การนำไปปรับใช้
     
     จากคุณสมบัติของผู้นำและการบริหารงานในรูปแบบต่างๆ เราสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมได้ ให้เข้ากับงาน เข้ากับคนเพื่อบรรลุเป้าหมายได้สำเร็จและมีประสิทธิภาพ และ รู้ว่าผู้นำแบบไหนที่ควรทำงานด้วยแและให้ความเคารพนับถือ

ประเมินผู้สอน
   
     เนื้อหาละเอียดและเยอะพอสมควร แต่สามารถบรรยายเเละยกตัวอย่างได้เข้าใจ

ประเมินตนเอง

     ตั้งใจเรียน เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อย


วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกวันที่ 18 มกราคม 2560

กิจกรรม/เนื้อหา


การบริหารจัดการสถานศึกษาระดับปฐมวัย

     * การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่ร่วมกันปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน
     * การบริหาร คือ การที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันทำงาน เพื่อจุดประสงค์อย่างเดียวกัน
     ** จากความหมายของ “การบริหาร” พอสรุปได้ว่า “การดำเนินงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้”

ความหมาย  *การบริหารการศึกษา แยกออกเป็น 2 คำ คือ การบริหาร และ การศึกษา ความหมายของ “การบริหาร” มีผู้ให้ความหมายไว้หลากหลาย ทั้งคล้ายๆกันและแตกต่างกัน 
    *ส่วนความหมายของ “การศึกษา”พอสรุปได้ว่า “การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี”
          เมื่อนำความหมายของ “การบริหาร” มารวมกับความหมายของ “การศึกษา” ก็จะได้ความหมายของ  “การบริหารการศึกษา” ว่า “การดำเนินงานของกลุ่มบุคคล เพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทั้งความรู้ ความคิด ความสามารถ และความเป็นคนดี”

 สรุป การบริหารสถานศึกษาหรือการบริหารองค์กร  สิ่งที่ต้องตระหนักหรือให้ความสำคัญ คือการบริหารงานบุคคล เพราะบุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าในองค์กร ที่สามารถพัฒนาศักยภาพได้ไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งจะทำให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการต่างๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้ ช่วยให้บุคคลที่ปฏิบัติงานในองค์กรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรที่ปฏิบัติงาน เสริมสร้างความมั่นคงแก่สังคมและประเทศชาติ นั้นหมายถึงผู้บริหารจะต้องมีความรู้เรื่องการบริหารเป็นอย่างดี

หลักการ แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา

******กลุ่มทัศนะดั้งเดิม
1. การบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific management) ของ Frederick. W. Taylor 
2.ทฤษฏีการจัดการเชิงบริหาร (Administration management) 
* Henry Fayol : หลักการบริหาร 14 หลักการ และขั้นตอนการบริการ POCCC
* Chester Barnard : ทฤษฏีการยอมรับอำนาจหน้าที่
* Luther Gulick : ใช้หลักการของ Fayol 
3.ทฤษฏีการบริหารแบบราชการ(Bureaucratic management)ของMax Weberพัฒนาหลักการจัดการแบบราชการ

*******กลุ่มทัศนะเชิงพฤติกรรม (Behavioral viewpoint)
 1.ทฤษฏีพฤติกรรมระยะเริ่มแรก 
*Hugo Munsterberg บิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรมใช้หลักการจำแนกคนงานให้เหมาะสมกับงาน
*Mary Parker Follett นักปรัชญาแห่งเสรีภาพ เน้นสภาพแวดล้อมในการทำงานและการมีส่วนร่วม
2.การศึกษาที่ฮอว์ธอร์น
3.ความเคลื่อนไหวเชิงมนุษยสัมพันธ์ 
*Abraham Maslow :  มาสโลว์ ทฤษฏีลำดับขั้นความต้องการ
*Douglas McGregor : แมคเกรเกอร์ ทฤษฏี X และทฤษฏี Y
4.หลักพฤติกรรมศาสตร์   เป็นการนำผลการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทฤษฏีเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์จากศาสตร์สาขาต่างๆเมื่อนำไปทดสอบแล้วจะเสนอให้นักบริหารนำไปใช้เช่น ทฤษฏีการตั้งเป้าหมาย ของ Locke

********กลุ่มทัศนะเชิงปริมาณ (Quantitative viewpoint)
1.การบริหารศาสตร์ มุ่งเพิ่มความมีประสิทธิผลในการตัดสินใจจากการใช้ตัวแบบคณิตศาสตร์และวิธีการเชิงสิติ 
2.การบริหารปฏิบัติการ  ยึดหลักการบริหารกระบวนการผลิตและให้บริการ กำหนดตารางการทำงาน
3.ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร สารสนเทศบริหารศาสตร์MIS เน้นการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหาร (Computer based information system : CBISs) 

*******กลุ่มทัศนะร่วมสมัย (Contemporary viewpoint)
1.ทฤษฏีเชิงระบบ **มุ่งเน้นกระบวนการมากกว่าผลผลิต
2.ทฤษฏีการบริหารตามสถานการณ์   หลักการบริหารงานที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์หนึ่งๆ เท่านั้นในสถานการณ์ที่ต่างไป ผู้บริหารอาจกำหนดหลักการจากการวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะของแต่ละสถานการณ์เพื่อกำหนดแนวทางให้เหมาะสมกับโครงสร้าง เป้าหมายและผู้ปฏิบัติงานในองค์การ
3.ทัศนะที่เกิดขึ้นใหม่   ทฤษฏี Z  ทฤษฏีการบริหารแบบญี่ปุ่น โดย William Ouchiโดยรวมหลักการบริหารแบบอเมริกันรวมกับแบบญี่ปุ่นมีหลักการสำคัญคือ ความมั่นคงในงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ รับผิดชอปัจเจกบุคคล เลื่อนตำแหน่งช้า ควบคุมไม่เป็นทางการ แต่วัดผลเป็นทางการ สนใจภาพรวมและครอบครัว

การนำไปปรับใช้

             หลักการ เเนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการบิรหารต่างล้วนมีรูปแบบที่เเตกต่างกันออกไป มีข้อดีเเละข้อเสียต่างกันไป อยู่ที่ตัวผู้บริหารจะรู้จักเลือกใช้ทฤษฎีไหนเข้ามาใช้บริหารสถานศึกษาของตนให้เหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพของงาน ของบุคลากรในสถาศึกษา

ประเมินผู้สอน

เนื้อหาเยอะพอสมควรเเต่สามารถจัดการเรียนการสอนให้พอดี ไม่น่าเบื่อทำให้กระชับเวลามากขึ้น

ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา เเต่งกายสุภาพเรียบร้อย

บันทึกวันที่11 มกราคม 2560

กิจกรรม/เนื้อหา

ผู้สอนแนะนำเนื้อหารายวิชา

การนำไปปรับใช้
-
ประเมินผู้สอน
-
ประเมินตนเอง